ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ
เรียกโดยย่อว่า สปป.ลาว ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณหรืออินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือและลองติจูดที่ 100-108 องศา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² ตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร
ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
1.ประเทศ จีน ทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร
2.ประเทศไทยทางด้านทิศใต้ และ ทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
3.ประเทศกัมพูชา ทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
4.ประเทศเวียตนาม ทางด้านทิศตะวันออก (2.130 กิโลเมตร)
5.ประเทศเมียนมาร์ ทางด้นทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ธงชาติลาว
ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
– สปป.ลาว แบบปัจจุบัน
ธงชาตินี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน โดยออกแบบขึ้นใน ช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการออกแบบจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
ของชาวลาว มีนามว่า มหาสิลา วีระวงส์ สำหรับรูปแบบธงชาตินี้เริ่มใช้อย่าง
เป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งอยู่ในช่วงวันสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ให้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่
10 มาตรา ที่ 91 ดังนี้ “ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีคราม, แถบแดง, และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ
ความกว้างของธงเท่า กับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดง
แต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม
และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม
ลักษณะและความหมายของธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป.ลาว
ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีรูปแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ชื่อว่า ธงดวงเดือน
ซึ่งลักษณะของธงชาติในรูปแบบนี้จะมีความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว
โดยมีสีบนตัวธงประกอบไปด้วย 3 สีด้วยกัน คือ
พื้นสีคราม มีแถบเป็นสีแดง และวงเดือนที่มีสีขาว
ซึ่งความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม
และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม
ส่วนความหมายของสีและสัญลักษณ์บนตัวธงชาติสามารถแยก ความหมายได้ดังนี้
– สีน้ำเงิน ซึ่งจะหมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
– สีแดง ซึ่งจะหมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
– วงกลมสีขาว ซึ่งจะหมายถึง พระจันทร์สีขาว
ให้เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ ลอยเด่น
คำขวัญประเทศลาว
(ສັນຕິພາບ ເອກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ
ວັດຖະນາຖາວອນ)
สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ
วัฒนาถาวร
ตราแผ่นดินลาว
ตราแผ่นดินลาว
แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10
มาตราที่ 90 ไว้ว่า
"เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม
ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร
"สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" (ลาว: "ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ") สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร
"สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร (ลาว: "ສັນຕິພາບ ເອກກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດທະນາຖາວອນ") ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง
อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"
ผู้หญิง นุ่ง Patoi
(มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น
สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย
มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้
ผู้ชาย นุ่ง Patoi
เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด
การแต่งกายประจำชาติ
ผู้หญิง นุ่ง Patoi
(มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น
สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย
มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้
ผู้ชาย นุ่ง Patoi
เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด
การแต่งกายทั่วไป
เป็นประเทศที่อยู่ชิดชายแดนไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดหนองคาย
ข้ามแม่น้ำโขงไปอีกฟากหนึ่งก็จะถึงเมืองเวียงจันทร์
นอกจากชนชาติลาวซึ่งบางครั้งเรียกว่าลัวะ หรือละว้า ยังมีชนเผ่าต่าง ๆ อีก ได้แก่
1. กลุ่มชนเผ่าไท-ลาว
คือพวกไทแดง ไทขาว ไทดำ ย้อ ลื้อ
2. กลุ่มม้ง-เย้า
3. กลุ่มพม่า-ธิเบต
รวมถึงมูเซอ ล่าฮู
4. กลุ่มมอญ-เขมร
รวมถึงขมุ
การทอผ้าของกลุ่มชาวไท-ลาว ใช้เทคนิคการทอ 6 วิธี ได้แก่
- มัดหมี่
หรือ IKAI (อีขัด)
- จก หรือ เทคนิค
การเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
- ชิด
หรือเทคนิคการเพิ่มด้วยเส้นพุ่งพิเศษติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
- เหยียบเกาะ
หรือเทคนิคการทอแบบใช้เส้นด้ายหลายสีเกี่ยวหรือผูกเป็นห่วง (เป็น เทคนิคการทอของชาวไทลือ้)
- ตามุก
หรือเทคนิคการเพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษ
- หมากไม
หรือเทคนิคการปั่นด้ายเส้นพุ่ง 2 สีเข้าด้วยกัน
ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว
ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม
ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง
ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น
อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ “หมากไม” คือการปั่นเส้นใย
สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/spplawxaseiyn/khxmul-thawpi-keiyw-kab-prathes
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น