บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

ประเทศลาว

รูปภาพ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ

รูปภาพ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ เรียกโดยย่อว่า สปป.ลาว ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณหรืออินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือและลองติจูดที่ 100-108 องศา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² ตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้                   1. ประเทศ จีน ทางด้านทิศเหนือ ( 1 กิโลเมตร                   2. ประเทศไทยทางด้านทิศใต้ และ ทิศตะวันตก ( 1,754 กิโลเมตร)                   3. ประเทศกัมพูชา ทางด้านทิศใต้ ( 541 กิโลเมตร)                   4. ประเทศเวียตนาม ทางด้านทิศตะวันออก ( 2.130 กิโลเมตร)                   5. ประเทศเมียนมาร์ ทางด้นทิศตะวันตก ( 235 กิโลเมตร)   ธงชาติลาว         ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป.ลาว แบบปัจจุบัน ธงชาตินี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน โดยออกแบบขึ้นใน   ช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการออกแบบจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ข

ดอกไม้ประจำชาติลาว

รูปภาพ
ดอกไม้ประจำชาติลาว ดอกลีลาวดี  ดอกไม้ประจำชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว                            ชื่อพื้นเมือง        :   จำปา                            ลักษณะทั่วไป   :   เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม่อ่อน แตกกิ่งเป็นแฉก  เป็นง่ามกระจายออกทำ                                                         ให้เกิดทรงพุ่มใหญ่ กิ่งเปราะง่าย  ทิ้งใบในฤดูแล้งแล้วผลิดอก  และใบรุ่นใหม่                                                         ในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป                            ใบ                   :     มีใบใหญ่โตเป็นหอก ใบแข็งมีสีเขียวเข้ม                           ดอก                :     ดอกเป็นช่อ ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ช่อหนึ่งจะมีดอกหลายสิบดอก เป็นกลุ่มสวยงามมาก                                                       มีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลายลักษณะ  บางชนิดกลีบเวียนกัน  บางชนิดกลีบดอกเรียง                                                         กัน บางชนิดปลายกลีบดอกแหลม  บางชนิดปลายกลีบดอกมน มากมายหลายสี   บาง                                        

ประชากร

   ประชากร            จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 ( ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้             ลาวลุ่ม หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ           ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด           ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเ

ประวัติศาตร์

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์ลาวยุคต้น                  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร                   ต่อมาในปี พ.ศ. 1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์หลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมดตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน

ภาษา

รูปภาพ
ภาษาลาว             ประเทศลาว ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่า   ของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติด   ต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ภาษาลาว  ( ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทยซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว สำเนียงภาษาถิ่นสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ:                 ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บริคำไชย)                 ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไชย หลวงน้ำทา)                 ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เชียงขวาง หัวพัน)                 ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สุวรรณเขต)                 ภาษาลาวใ

ระบบการศึกษา

รูปภาพ
 ระบบการศึกษา การศึกษาในประเทศลาวนั้นจัดระบบการศึกษาเริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โดยโรงเรียนในประเทศลาวมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน เปิดรับนักเรียนเมื่ออายุ 3 ถึง 6 ปี ใช้เวลาเรียน 3 ปี มีระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นอนุบาล 3 เมื่อจบจากระดับชั้นอนุบาลก็เลื่อนชั้นไปเรียนระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป อัตราการรู้หนังสือในประเทศลาวใน พ.ศ. 2548 อยู่ที่ 73% (83% ชาย และ 63% หญิง)   การแบ่งระดับการศึกษา                 ประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาในประเทศลาวใช้เวลาเรียน 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี การศึกษาในระดับนี้คือเป็นการศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี และในอนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี อุดมศึกษา รวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นการศึกษาเฉพาะทางซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาแล้ว จะมีการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเสน

ระบบเศรษฐกิจ

รูปภาพ
ระบบเศรษฐกิจ               ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการ ตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า         การลงทุน การลงทุน                       รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎ ระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหล

ภูมิอากาศ

รูปภาพ
     ลักษณะภูมิอากาศ ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศ ค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วน ทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้ สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเล จีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศแบ่ง 3 ฤดู คือ     1.ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน 2. ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม  3. ฤดูหนาว  เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม …………… อ้างอิง     https://sites.google.com/site/spplawxaseiyn/laksna-phumi-xakas ………………………………………………